วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การบัญชีเบื้องต้น 2

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกิจการซื้อขายสินค้า
    • สินค้า หมายถึง สินทรัพย์หรือสิ่งที่กิจการค้ามีไว้เพื่อจำหน่าย โดยมีวัตถุประสงค์ในการหากำไรจากการจำหน่ายสินค้า สินค้าถือเป็นสินทรัพย์
    • ส่งคืนสินค้า เกิดขึ้นทางด้านผู้ซื้อ เป็นรายการที่ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงอยู่ในหมวด ค่าใช้จ่าย จะบันทึกทางด้าน Cr. เสมอ
    • รับคืนสินค้า เกิดขึ้นทางด้านผู้ขาย เป็นรายการที่ทำให้รายได้ลดลงอยู่ในหมวด รายได้ จะบันทึกบัญชี Dr.เสมอ
    • ส่วนลดการค้า คือ ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ทันที่ที่ตกลงซื้อขายกันไม่มีการบันทึกส่วนลดการค้าในบัญชีใดๆ จำนวนเงินที่บันทึกรายการซื้อและขายนั้นจะใช้จำนวนเงินที่หักส่วนลดแล้ว
    • ส่วนลดเงินสด คือ ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้กับลูกค้าที่ชำระหนี้ตามกำหนดทางด้ายผู้ขายเรียกว่า “ส่วนลดจ่าย” ด้านผู้ซื้อเรียกว่า ส่วนลดรับ เช่น 2/10,N/30 หมายถึง ผู้ซื้อจ่ายชำระภายใน 10 วันจะได้รับส่วนลด 2% กำหนดชำระหนี้ต้องไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่ลงในใบกำกับสินค้า
    • F.O.B shipping point หรือค่าขนส่งเข้า อยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายถือเป็นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อ
    • F.O.B destination หรือค่าขนส่งออก อยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย ผู้ขายเป็นผู้จ่าย
    • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกย่อๆว่า VAT หมายถึงภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้า ผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการในส่วนที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วยภาษีซื้อ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ และภาษีขายซึ่งถือว่าเป็นหนี้สิน
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อซื้อขายสินค้ามี 2 วิธี คือ วิธีบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method) และวิธีบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method) สำหรับกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% มีวิธีการบันทึกบัญชีดังต่อไปนี้

รายการ
Perpetual Inventory Method
Periodic Inventory Method
1.  ซื้อสินค้า
เดบิตสินค้า                             XX
        ภาษีซื้อ                          XX
        เครดิตเงินสด/เจ้าหนี้การค้า  XX
เดบิตซื้อสินค้า                            XX
        ภาษีซื้อ                              XX
        เครดิตเงินสด/เจ้าหนี้การค้า       XX
2.  ค่าขนส่งเข้า
เดบิตสินค้า                             XX
        เครดิตเงินสด                       XX
เดบิตค่าขนส่งเข้า                       XX
        เครดิตเงินสด                              XX
3.  ส่งคืนสินค้า
เดบิตสินค้า                             XX
        เครดิตสินค้า                         XX
              ภาษีซื้อ                           XX
เดบิตเงินสด                               XX
        เครดิตส่งคืนสินค้า                      XX
              ภาษีซื้อ                                 XX
4.  จ่ายชำระหนี้ และมีส่วนลดรับ
เดบิตเจ้าหนี้การค้า                  XX
        เครดิตเงินสด/ธนาคาร          XX
                  สินค้า                         XX
เดบิตเจ้าหนี้การค้า                     XX
         เครดิตเงินสด/ธนาคาร              XX
ส่วนลดรับ                                  XX
5.  ขายสินค้า
5.1  บันทึกการขาย

5.2  บันทึกต้นทุนขาย
เดบิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า      XX
        เครดิตขายสินค้า                  XX
ภาษีขาย                              XX
เดบิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า         XX
        เครดิตขายสินค้า                       XX
                   ภาษีขาย                        XX
เดบิตต้นทุนขาย                     XX
        เครดิตสินค้า                        XX
ไม่บันทึกบัญชี
 6.  รับคืน
6.1  บันทึกการรับคืน

6.2  บันทึกต้นทุนของ
สินค้าที่รับคืน  
เดบิตรับคืนสินค้า                   XX
        ภาษีขาย                         XX
        เครดิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า   XX
เดบิตรับคืนสินค้า                       XX
        ภาษีขาย                             XX
        เครดิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า          XX
เดบิตสินค้า                             XX
        เครดิตต้นทุนขาย                 XX
ไม่บันทึกบัญชี
7.  ค่าขนส่งออก
เดบิตค่าขนส่งออก                  XX
        เครดิตเงินสด                       XX
เดบิตค่าขนส่งออก                      XX
        เครดิตเงินสด                               XX
8.  รับชำระหนี้ และมีส่วน
ลดจ่าย
เดบิตเงินสด/ธนาคาร              XX
        ส่วนลดจ่าย                    XX
        เครดิตลูกหนี้การค้า              XX
เดบิตเงินสด/ธนาคาร                  XX
        ส่วนลดจ่าย                        XX
        เครดิตลูกหนี้การค้า                    XX
9.  ต้นทุนขาย
ดูจากยอดคงเหลือของบัญชีต้นทุนขาย
ดูจากการคำนวณดังนี้.-
สินค้าคงเหลือต้นงวด                         XX
ซื้อสินค้า                                    XX
บวก ค่าขนส่งเข้า                      XX 
                                                   XX
หัก ส่งคืน          XX
ส่วนลดรับ          XX                  XX      XX
สินค้าที่มีไว้เพื่อขาย                             XX
หัก สินค้าคงเหลือปลายงวด                XX
ต้นทุนขาย                                            XX


สมุดรายวันเฉพาะ (Specialized journal) เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้น ในลักษณะอย่างเดียวกัน แบ่งออกเป้น 2 ประเภทคือ
สมุดรายวันเฉพาะสำหรับบันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับสินค้า  เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อโดยต้องเป็นกิจการที่
ใช้ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด (Periodic  inventory system)  แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

          สมุดรายวันซื้อ (Purchases  Journal)  เป็นขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น


          สมุดรายวันขาย (Sales  Journal) เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้สมุดรายการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น
 

          สมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด (Purchases return & allowances journal)  เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการส่งคืนสินค้า ในกรณีที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ


          สมุดรายวันรับคืนและส่วนลด (Sales return & allowances journal) เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการรับคืนสินค้าในกรณีที่ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ
สมุดรายวันเฉพาะสำหรับบันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการเงิน  เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช่บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวข้องกับการรับและจ่ายเงินสด หรือฝากธนาคารของกิจการ  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
 สมุดรายวันรับเงิน (Cash receipts journal) เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการรับเงินสดหรือ
ฝากธนาคาร
สมุดรายวันจ่ายเงิน (Cash disbursement journal or Cash payment journal) เป็นสมุดขั้นต้นแบบเดียวกันกับสมุดรับเงิน โดยเป็นการบันทึกรายการจ่ายเงินสดหรือถอนเงินจากธนาคาร และใช้ควบคู่กับสมุดรายวันรับเงิน
สมุดบัญชีแยกประเภทลูกหนี้ (Accounts Receivable Ledger)  เป็นสมุดบัญชีแยกประเภทที่จะให้รายละเอียดเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับลูกหนี้ของกิจการว่ามีใครบ้าง
สมุดบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ (Accounts Payable Ledger)  เป็นสมุดบัญชีแยกประเภทย่อยที่จะให้รายละเอียดเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับเจ้าหนี้ของกิจการว่ามีใครบ้าง

การปรับปรุงบัญช

1. ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กิจการได้จ่ายไปแล้ว แต่มีบางส่วนที่เป็นของงวดบัญชีถัดไปรวมอยู่ด้วย
วิธีที่ 1 บันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่าย ณ วันที่กิจการจ่ายเงิน
วิธีที่ 2 บันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ ณ วันที่กิจการจ่ายเงิน
2. รายได้รับล่วงหน้า (Deferred Income) หมายถึง รายได้ที่กิจการรับมาล่วงหน้าแล้วแต่ยังไม่ได้ตอบแทนต่อลูกค้า ถือว่ากิจการมีหนี้สินซึ่งจะต้องชดใช้ด้วยสินค้า มีการบันทึกอยู่ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 บันทึกไว้เป็นรายได้ ณ วันที่กิจการได้รับเงินสด
วิธีที่ 2 บันทึกไว้เป็นหนี้สิน ณ วันที่กิจการได้รับเงินสด
3. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วในระหว่างงวดบัญชี แต่กิจการยังมิได้ทำการจ่ายเงินและยังมิได้ทำการบันทึกรายการลงสมุดบัญชี จึงทำ
ให้กิจการมีหนี้สินเกิดขึ้น มีวิธีการปรับปรุงดังนี้
4. รายได้ค้างรับ (Accrued Income) หมายถึง รายได้ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชีนี้แต่
กิจการยังไม่ได้รับเงินสด เพราะไม่ถึงวันครบกำหนดรับเงินจนกว่าจะถึงงวดบัญชีหน้า รายได้ค้างรับมีวิธีการปรับปรุงดังนี้
5. หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Account) คือ ลูกหนี้จำนวนหนึ่งที่กิจการคาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ จึงบันทึกเป็นบัญชีค่าใช้จ่ายแสดงในงบกำไรขาดทุน
     -หนี้สูญ (Bad Debt) หมายถึง ลูกหนี้ที่กิจการได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้วก็ยังไม่ได้รับชำระ จึงตัดออกบัญชีลูกหนี้ บัญชีหนี้สูญ เป็นบัญชีค่าใช้จ่าย แสดงในงบกำไรขาดทุน
     -ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for Doubtful Account) หมายถึง จำนวนเงินที่กันไว้สำหรับลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ และถือเป็นบัญชีปรับมูลค่า โดยนำไปหักออกจากบัญชีลูกหนี้ในงบดุล

6. วัสดุสำนักงาน (Office supplies) มีลักษณะเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีลักษณะใช้แล้วหมดไป มีวิธีการคำนวณได้ดังนี้
การบันทึกบัญชีมี 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 บันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ ณ วันที่ซื้อ





7.ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) หมายถึง มูลค่าของสินทรัพย์ถาวรที่มีการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน และตัดเป็นค่าใช้จ่ายแต่ละงวดบัญชีอย่างมีหลักเกณฑ์ตามที่สินทรัพย์ถาวรนั้น วิธีคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง หรือแบบคงที่ (Straight Line Method) มาใช้เท่านั้นสามารถคำนวณจากสูตรดังนี้
รายการกลับบัญชี (Reversing Entries) หมายถึง การโอนรายการบัญชีที่ได้ปรับปรุงแล้วในวันสิ้นงวดบัญชี ให้กลับคืนไปเป็นบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายของบัญชีแต่ละประเภทเมื่อเริ่มงวดบัญชีใหม่ เพื่อให้การบันทึกบัญชีของงวดบัญชีใหม่สะดวกขึ้น
งบกำไรขาดทุน

         การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบขั้นเดียว และแบบหลายขั้น

         1. งบกำไรขาดทุนแบบขั้นเดียว(Single Step Income Statememt) เป็นการจัดทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนดให้จัดทำตามรายการย่อในบัญชี 9 ซึ่งจะแสดงโดยนำรายได้บวกรวมกันทั้งหมด และหักด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมด จึงต้องมีรายละเอียดประกอบงบกำไรขาดทุน 
  2. . งบกำไรขาดทุนแบบหลายขั้น (Multiple Step Income Statement) เป็นงบกำไรขาดทุนที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ภายในกิจการ ไม่ใช่รูปแบบที่กฎหมายกำหนด
กรณีกิจการใช้วิธีบันทึกสินค้าแบบสิ้นงวด

กรณีกิจการบันทึกสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
 
การปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
ขั้นที่ 1 โอนปิดบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนขายที่มียอดเดบิต และบันทึกสินค้าคงเหลือต้นงวด

 ขั้นที่ 2 โอนปิดบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนขายที่มียอดด้านเครดิต และบันทึกสินค้าคงเหลือปลายงวด

 ขั้นที่ 3 โอนปิดบัญชีรายได้ เข้าบัญชีกำไรขาดทุน

 ขั้นที่ 4 โอนปิดบัญชีต้นทุนขาย รับคืน ส่วนลดจ่าย และบัญชีค่าใช้จ่ายต่างๆ เข้าบัญชีกำไรขาดทุน

 ขั้นที่ 5 โอนปิดบัญชีกำไรขาดทุน (กรณีเจ้าของคนเดียว)



วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

36 กลยุทธแห่งชัยของซุนวู

36 กลยุทธ์แห่งชัย สามารถแบ่งออกเป็น 6 ส่วนดังนี้     
ส่วนที่1 กลยุทธ์ ชนะศึก มี 6 แนวทาง
1) ปิดฟ้าข้ามทะเล 
หมายถึง สิ่งที่ตนคิดว่าได้ตระเตรียมไว้อย่างพร้อมมูลแล้ว ก็มักเพิกเฉยและประมาทศัตรูได้ง่าย สิ่งที่พบเห็นอยู่ในยามปกติก็ไม่เกิดความสงสัยอีกต่อไป
                เป็นการสร้างภาพลวงให้เกิดความเคยชิน คนเรามักปล่อยปละละเลยต่อการระมัดระวัง มิได้ป้องกันให้เข็มงวดกวดขัน แล้วฉวยโอกาสนี้จู่โจมหรือหาผลประโยชน์
2) ล้อมเว่ยช่วยจ้าว
                หมายถึง การทำให้กำลังที่แข็งแกร่งของคู่ต่อสู้แยกออกจากกัน โดยการดึงหรือแยกความสนใจที่มีค่ามากพอทำให้คู่ต่อสู้ลังเลและแบ่งแยกกำลังหลักออกไปหนึ่งหรือหลายๆทาง เพื่อง่ายที่จะโจมตีภายหลัง
3) ยืมดาบฆ่าคน
                หมายถึง เมื่อคู่ต่อสู้ปรากฏเด่นชัด ตัวเราเองขาดความพร้อมที่จะป้องกันตนเอง พันธมิตรสงบนิ่งหรือลังเล พึงใช้อุบายหรือสร้างเงื่อนไขให้พันธมิตรออกไปกำจัดข้าศึกแทนเรา ทั้งนี้ต้องแนบเนียนอย่าให้ศัตรูรู้แผนการ มิฉะนั้นแผนที่วางไว้อาจล้มเหลว
4) รอซ้ำยามเปลี้ย
                หมายถึง เป็นการประเมินคู่ต่อสู้แม้ว่ามีกำลังมากและเข็มแข้งแต่หวังผลสำเร็จเร็ว ไม่ยาวนานนัก  ฝ่ายเราแม้จะกำลังด้อยกว่าแต่สามารถป้องกันได้ยาวและสามารถใช้ความสงบรอความเปลี้ยของข้าศึกได้  ควรรอคอยเพื่อจู่โจมภายหลัง สถานการณ์จะเปลี่ยนจากเสียเปรียบเป็นได้เปรียบ
5) ตีชิงตามไฟ
                หมายถึง เมื่อคู่ต่อสู้เกิดวิกฤตควรอาศัยโอกาสนั้นฉกฉวยให้ได้มาซึ่งชัยชนะ
6) ส่งเสียงบุรพาฝ่าตีประจิม
                หมายถึง การลวงล่อให้คู่ต่อสู้เกิดความเข้าใจผิดในเป้าหมายหลักของตน แล้วใช้โอกาสนี้หาทางแก้ไขปัญหา
  
ส่วนที่ 2 กลยุทธ์เผชิญศึก มี 6 แนวคิด
7) มีในไม่มี
                หมายถึง ให้ใช้ภาพลวงหลอกคู่ต่อสู้แต่ไม่ใช่ล่อลวงจนถึงที่สุด หากเพียงแปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริง ทำให้ข้าศึกเกิดความสับสนวุ่นวายพึงจับจุดอ่อนของข้าศึก ยืนหยัดจนถึงเวลาที่สำคัญที่สุด
8) ลอบตี
                หมายถึง ใช้ในโอกาสที่ข้าศึกพยายามรักษาพื้นที่ แสร้งโจมตีซึ่งหน้าแต่เข้าจู่โจมในพื้นที่ที่ข้าศึกไม่สนใจอย่างไม่คาดคิด
9) ดูไฟชายฝั่ง
                หมายถึง เมื่อข้าศึกปั่นป่วนจากภายในจะด้วยไส้ศึกหรือเหตุภายในใดๆก็ตาม ให้เฝ้ารอโอกาสจังหวะสุกงอมแทรกแซงยึดครอง
10) ซ่อนดาบในรอยยิ้ม
                หมายถึง ทำให้ข้าศึกเชื่อว่าเราไม่ได้เคลื่อนไหวอะไรเลย จึงสงบไม่เคลื่อนไหวเช่นกัน ทั้งเกิดความคิดมึนชาเพิกเฉย แต่เรากลับดำเนินการตระเตรียมเป็นการลับ รอคอยโอกาสเพื่อออกโต้ตอบฉับพลัน แต่ต้องระวังมิให้ศัตรูรู้ตัว
11) เสียบ่าวเอานาย
                หมายถึง ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบควรยอมเสียค่าตอบแทนไปบางแต่น้อยเพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่ใหญ่กว่า
12) จูงแพะติดมือ
                หมายถึง การฉกฉวยโอกาสจากข้อบกพร่องของข้าศึก เพื่อฉกฉวยผลประโยชน์แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม

ส่วนที่ 3 กลยุทธ์เข้าตี มี 6 แนวคิด
13) แหวกหญ้าให้งูตื่น
                หมายถึง เมื่อพบข้อสงสัยและไม่ชัดเจน ควรสืบในทางลับ เมื่อทราบเจตนาชัดเจน ควรวางแผนซ้อนรอยให้ข้าศึกปรากฏตัวแล้วเข้าจับตัว
14) ยืมซากคืนชีพ
                หมายถึง การฉวยโอกาสทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายบางประการของตน
15) ล่อเสือออกจากถ้ำ
                หมายถึง ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมตามเงื่อนไขของธรรมชาติ ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่เพื่อสร้างและเพิ่มความยากลำบากให้กับข้าศึก ในขณะเดียวกันก็ใช้ภาพลวงที่เราสร้างขึ้นทำให้ข้าศึกออกจากแนวป้องกัน จากนั้นก็โจมตี
16) แสร้งปล่อยเพื่อจับ
                หมายถึง การปล่อยให้ข้าศึกหนี แต่ไล่ล่าอย่างใกล้ชิด เมื่อถึงเวลาที่ข้าศึกอ่อนล้าก็จับ กลยุทธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อจับ
17) โยนกระเบื้องล่อหยก
                หมายถึง สร้างความคล้ายเพื่อลวงข้าศึก เป็นการใช้สิ่งที่มีค่าน้อยไปแลกกับสิ่งที่มีค่ามากกว่า
18) จับโจรจับหัวหน้า
                หมายถึง จะต้องโจมตีข้าศึกในจุดที่เป็นส่วนสำคัญเพื่อสลสายพลัง
ส่วนที่ 4 กลยุทธ์ติดพัน มี 6 แนวคิด
19) ถอนฟืนใต้กระทะ
                หมายถึง หาทางบั่นทอนขวัญและพลังของข้าศึก
20) กวนน้ำจับปลา
                หมายถึง เมื่อข้าศึกปั่นป่วนวุ่นวายต้องฉววดอกาสแย่งยึดผลประโยชน์มา
21) จักจั่นลอกคราบ
                หมายถึง รักษาแนวรบเหมือนเดิมให้ดูน่าเกรงขามเหมือนเก่า ถอนกำลังอย่างลับเคลื่อนกำลังหลักหลบไป
22) ปิดประตูจับโจร
                หมายถึง ข้าศึกกำลังอ่อนกว่า ให้ปิดล้อมและทำลายเสีย
23) คบไกลตีใกล้
                หมายถึง เมื่อเราอยู่ในภาวะคับขัน มีปัญหากับศัตรูที่อยู่ใกล้เคียง พึงผูกมิตรกับมิตรห่างไกลเพื่อเป็นการป้องกันตัวและหาแนวร่วม แล้วระดมสรรพกำลังโจมตีข้าศึกที่อยู่ใกล้
24) ยืมทางพรางกล
                หมายถึง หลอกให้ผลประโยชน์เพื่อหวังยึดครองภายหลัง
ส่วนที่ 5 กลยุทธ์ร่วมรบ มี 6 แนวคิด
25) ลักขื่อเปลี่ยนเสา
                หมายถึง เป็นการโยกย้ายกำลังหลักของศัตรูโดยใช้กลลวงต่างๆ ทำให้ข้าศึกเปลี่ยนหรือเคลื่อนย้ายกำลังไปตามความประสงค์ของเรา แล้วโจมตีข้าศึกเพื่อชัยชนะ
26) ฆ่าไก่ให้ลิงดู
                หมายถึง ผู้เข้มแข็งกว่าควรตักเตือนผู้อ่อนกว่าด้วยความเข้มแข็งให้ประจักษ์ จะเป็นที่ยอมรับนับถือแก่ผู้อ่อนแอ
27) แสร้งเพี้ยนแต่ไม่บ้า
                หมายถึง ยามสถานการณ์ไม่เป็นผลดี ควรสะกดกลั้นตนเองไว้แสร้งทำเป็นโง่เง่า อวดฉลาดจะไม่เป็นผลดีแก่ตน เบื้องหลังคิดหาทางออกแก้ไขปัญหา
28) ขึ้นบ้านชักบันได
                หมายถึง เป็นการเปิดจุดอ่อนของเราให้ศัตรูเห็นและเข้าโจมตี เพื่อลวงให้ติดกับแล้วตัดทางสนับสนุนของข้าศึกให้ติดอยู่ในวงล้อม
29) ต้นไม้ผลิดอก
                หมายถึง การดึงมิตรมาร่วมรบ เสริมทำให้มากขึ้น ลวงให้ข้าศึกเข้าใจผิดแล้วฉวยโอกาสเคลื่อนไหวตามประสงค์
30)สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน
                หมายถึง เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเปิดช่องให้สอดแทรก ควรแทรกกุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่ายหนึ่งไว้
ส่วนที่ 6 กลยุทธ์ยามพ่าย มี 6 แนวคิด
31) กลสาวงาม
                หมายถึง สำหรับข้าศึกที่มีกำลังเข้มแข็งพึงโจมตีแม่ทัพเสียก่อน ต่อแม่ทัพที่ฉลาดก็โจมตีจุดอ่อนทางใจ
32) กลปิดเมือง
                หมายถึง กำลังเราอ่อนแอยิ่งจงใจแสดงว่าไม่มีการป้องกันทำให้ศัตรูสนเท่ห์
33) กลไส้ศึก
                หมายถึง สร้างแผนลวงให้ข้าศึกร้าวฉานระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน
34) กลทุกข์กาย
                หมายถึง การทำให้ศัตรูเชื่อ พึงต้องเข้าใจจุดอ่อนของศัตรู ทำเท็จให้จริงจังให้เชื่อว่าจริงแท้
35) กลลูกโซ่
                หมายถึง เมื่อศัตรูแกร่งกว่า พึงใช้กลอุบายนานาให้บั่นทอน
36) หนีคือยอดกลยุทธ์
หมายถึง ในสถานการณ์ที่ไม่ดีต้องหลีกเลี่ยงมีทางออก3 ทาง คือ ยอมจำนน,เจรจาสงบศึก,ถอยหนี เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การยอมจำนนคือการแพ้อย่างถึงที่สุด การขอเจรจาสงบศึกคือการแพ้ครึ่งหนึ่ง ถอยหนีอาจเปลี่ยนแปลงเป็นชนะได้ภายหลัง